วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ยิ้มวันละนิด


ก่อนวันนัดตัดสินคดี 2 วัน จำเลยได้แอบส่งเหล้านอกขวดหนึ่งไปให้ผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีนี้เพราะรู้ดีว่าท่านชอบเหล้านอกมาก ทนายจำเลยรู้เรื่องเข้าก็ดุว่าจำเลย

"คุณทำไม่ถูกใครๆก็รู้ว่าท่านเกลียดคนติดสินบน แบบนี้เราแพ้คดีแหง"
"ยาก!" จำเลยยักคิ้ว "แพ้ยาก"
"ยากยังไง"
"ผมส่งไปในนามของโจทย์"
"ตายแล้ว"
"นอกจากนี้...เชอะ!" จำเลยยักไหล่ "เหล้าขวดนั้นยังเป็นเหล้าปลอมด้วย"

:ที่มาสนุกกับกฏหมาย

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กินดียามสูงวัย

ยามเด็ก  กินเพื่อเติบโต
ยามวัยรุ่น  กินเพื่อความสะใจ
ยามผู้ใหญ่ สำนึกผิดกลับมากินเพื่อป้องกันโรค
และยามสูงวัย  กินเพื่อแค่อยู่รอด...!?

เขียนแต่เรื่องวิชาการมาตลอด วันนี้มาคุยกันเรื่องสุขภาพบ้างนะคะ บังเอิญได้อ่านนิตยสาร Health Today เห็นว่าน่าสนใจดีหรืออาจจะเป็นเพราะผู้เขียนเองก็มีพฤติกรรมการกินไม่ดีเท่าที่ควร และถึงวัยที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย โดยเฉพาะความเสื่อมต่างๆ ส่งผลต่อการดำรงชีวิต ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องอาหารที่ต้องกินอยู่ทุกวัน

ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการสารอาหาร
* ต่อมรับกลิ่นและรส ลดประสิทธิภาพลง ทำให้ไม่เจริญอาหาร สังเกตได้ว่ากินอะไรก็เบื่อ หรือกินอาหารรสจัดจ้านได้น้อยลง
* ความเสื่อมทางร่างกายและฮอร์โมนเพศที่ลดลงตามธรรมชาติ ส่งผลต่อระบบการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายทำงานด้อยลง เช่น ระบบเผาผลาญพลังงาน การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งทำให้ร่างกายต้องการรับพลังงานน้อยลง
* มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่ต้องควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ทำให้ต้องกินยารักษา ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงทำให้เบื่ออาหาร หรือทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหารต่างๆลดลง
* สภาพเศรษฐกิจและความเอาใจใส่ดูแลจากลูกหลาน โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน

รู้ได้อย่างไรว่าขาดสารอาหาร(อ่านต่อคราวหน้านะคะ)

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ผลงานศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

วัตถุประสงค์
1. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง

ผลงานศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

"การศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบที่ดำเนินโครงการคาราวานเสริม

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หลักสูตรแกนกลาง 2551(ต่อ)


ประเด็นถาม-ตอบ เกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลาง 2551
ถาม
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีแนวทางดำเนินการอย่างไร
ตอบ
หลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดโครงสร้างเวลาของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1 -ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีละ 120 ชั่วโมงและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.4-6) จำนวน 360 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาสำหรับการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ สถานศึกษาสามารถกำหนดเวลาสำหรับการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในส่วนที่เป็นกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ โดยกำหนดเวลาสำหรับแต่ละกิจกรรมและในแต่ละปี ให้มีความเหมาะสมกับบริบทและความพร้อมของแต่ละสถานศึกษา สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
-ระดับประถมศึกษา (ป.1-6)รวม 6 ปีจำนวน 60 ชั่วโมง
-ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(ม.1-3) รวม 3 ปี จำนวน 45 ชั่วโมง
-ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.4-6) รวม 3 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง
สำหรับวิธีการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ สถานศึกษาสามารถจัดได้หลายรูปแบบ เช่น จัดบูรณาการในกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด กิจกรรมชุมนุมหรือชมรม หรืออาจจะจัดแยกเป็นกิจกรรมต่างหาก
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หลักสูตรแกนกลาง 2551


ประเด็นถาม-ตอบ เกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ถาม
1.การจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาจำเป็นต้องเหมือนกับโครงสร้างเวลาเรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือไม่
ตอบ
การจัดทำโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษา ต้องนำโครงสร้างเวลาเรียนที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางฯมาศึกษาวิเคราะห์ เพื่อจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง อย่างไรก็ตามหลักสูตรแกนกลางได้กำหนดแนวทางการกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานและเพิ่มเติม เพื่อให้สถานศึกษาทุกแห่งใช้เป็นแนวทางการดำเนินการ ให้สถานศึกษาสามารถปรับให้สอดคล้องกับบริบทของตนเองได้ตามความจำเป็น ดังนี้
1.ระดับประถมศึกษา
1.1 สามารถปรับเวลาเรียนพื้นฐานแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ต้องมีเวลาเรียนรวมตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน(840 ชั่วโมง/ต่อปี
1.2 สำหรับเวลาเรียนเพิ่มเติม สามารถจัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมหรือกิจกรรมเพิ่มเติมโดยพิจารณาให้สอดคล้องกับความพร้อม จุดเน้นของสถานศึกษาและเกณฑ์การจบหลักสูตร เฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1-3 สถานศึกษาอาจจัดเวลาเรียนเพิ่มเติมให้เป็นเวลาสำหรับสาระการเรียนรู้พื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
2. ระดับมัธยมศึกษา
การจัดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ

ถาม
2. สถานศึกษา จำเป็นต้องนำทุกตัวชี้วัดที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มาใช้ในการจัดทำคำอธิบายรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆหรือไม่
ตอบ
การจัดทำคำอธิบายรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ สถานศึกษาจำเป็นต้องนำตัวชี้วัดทุกข้อ พร้อมทั้งสาระการเรียนรู้แกนกลาง ที่กำหนดในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการจัดทำคำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน เพราะเป็นรายวิชาที่เปิดสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องเรียนรู้ สำหรับรายวิชาเพิ่มเติม เป็นรายวิชาที่พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อให้สอดคล้องกับจุดเน้น ความต้องการและความถนัดของผู้เรียน สถานศึกษาสามารถเปิดสอนรายวิชาเพิ่มเติมของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆได้โดยกำหนดเป็นผลการเรียนรู้ ว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร และทำอะไรได้ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมต่างๆ

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน